“เมื่อบทบาทหน้าที่ของ Agile Coaching/Scrum Master ต้องเป็นของ COO”

Yongyuth Buranatepaporn
2 min readMay 12, 2024

เช้านี้อ่านบทความของ John Davidson (Agile and Program manager) คนนึง จริงๆ ชื่อบทความค่อนข้างแรงถึงขนาดบอกอาชีพ ”Agile Coach is Over”…แต่ว่าพออ่านจริงๆ น่าจะหมายถึงต้อง “Evolve มากกว่าให้เหมาะกับยุค” ในเนื้อหาบทความไม่ขอพูดถึงสามารถ search หาชื่อ article : “Agile Coaching is Dying” ได้ใน content ส่วนที่เป็น paid subscriber ใน medium platform นะครับ

ทีนี้มีส่วนนึงของเนื้อหาที่ผมคิดว่าน่าสนใจ คือ เรื่องการ Evolve คนที่มีบทบาท Agile Coach/Scrum Master/Trainer ที่ต้องสอนเรื่อง People/Process/Technology transformation ในองค์กร ข้อคิดเห็นคือ

1. “องค์กรต่างๆ เริ่มลดความจำเป็นของ Agile Coaching (หมายถึง สอน Agile หรือคนชื่อตำแหน่งนี้อาจะต้องเปลี่ยนแปลง)” : แต่ในมุมมองของ John บอกว่าจริงๆ องค์กร tech ต่างๆ ยังต้องการ “โค้ชหรือเทรนเนอร์” อยู่อย่างมาก แต่

* เป็นในบทบาทที่เปลี่ยนไปคือต้องมาเน้น “การ delivery” ตาม business ไม่ใช่ delivery ตาม process หรือวิธีการ

* “ความสามารถที่จะมา guide team ให้ปรับเปลี่ยนตามช่วงเวลา และโจทย์องค์กรได้ทั้งแบบ Agile/mini-waterfall/waterfall/หรือวิธีการเฉพาะองค์กร

* “ต้องการคนที่ไม่ได้มีเพียงทฤษฏีด้านกระบวนการ/เทคโนโลยี แต่ต้องบอกได้ว่าสิ่งที่ทำปรับเข้ากับ Business case ที่กำลังทำอย่างเหมาะสมได้อย่างไร เขาใช้คำว่า “Coaching in business cases survive”

2. “Agile coach หรือ Scrum master” ต้องข้ามความรับผิดชอบที่ถูกเขียนไว้ใน guideline หรือตามที่เรียนใน certified ต่างๆ มีข้อแนะนำที่น่าสนใจคือ

* จริงๆ แล้วตำแหน่ง Coach หรือ Scrum Master = “COO” (Chief Operation Officer) ขององค์กรด้วยซ้ำ

* เพราะความรับผิดชอบต้อง “Align ธุรกิจ และจูน process” การทำงานให้ align กับทีมต่างๆ ในองค์กร ทั้ง product team, technical team, stakeholders

* “Effective” จะเกิดไม่ใช้การ coaching ในก classroom หรือ workshop แต่ต้องเฝ้าติดตามรับเป้าหมาย วัดผลลัพธ์ ในเชิงประสิทธิภาพในฐานะ “COO” ขององค์กร

* เพราะว่าการรับเป้าหมาย หรือ performance ขององค์กรมักเป็นมิติที่ขาดหายไป หากเราระบุเขาเป็นเพียง Coach หรือ Scrum Master ตาม Scrum guide ต่างๆ เท่านั้น

3. “คนที่จะเป็นโค้ชได้ต้อง Qualified” : ต้องมี evidence ชี้วัดในเชิง “ประสบการณ์ และชั่วโมงการทำงาน”, “Soft-skills”, “Credentials” เพราะ “โลกต้องการการ Coaching อยู่” ดังนั้น จึงมีสถาบันที่ verified โค้ชสู่มาตรฐาน ไม่ใช่เป็นเพียงคนทำงานมีประสบการณ์เท่านั้น เพราะมีมิติหลายด้านหากต้องกลายเป็น “COO” as a coach

4. “Delivery Leadership Training” : นอกจากจะส่งมอบเชิงกระบวนการ จะต้องมีวิธีการ train เรื่อง “Delivery Leadership” ให้กับทีม ได้แก่เรื่อง value generation ให้องค์กร, risk management ขององค์กร, หลักการ governance ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นทักษะที่การเป็น COO as a coach ต้องทำได้เพิ่มเติมใน job description

5. มีคำพูดน่าสนใจในบทความกล่าวว่า

“The agile role in our tech organization was critical to our earlier transformation phases, but as our organization matured, the natural next step is to integrate agile delivery processes directly into our core engineering practices.”

เลยมีความน่าสนใจถึงบทบาทการพัฒนา career ของ Coach และ Scrum master ในองค์กรที่ต้องวาง path ระยะยาว ในฐานะ “COO as a Coach” และแน่นอนโลกต้องการการฝึกสอน แต่การฝึกสอนต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอก และคนฝึกสอน จำเป็นต้องลงลึก ปักฐาน ให้เชี่ยวชาญในองค์กรที่จะฝึกสอน เพราะท้ายที่สุด เขาจะไม่ใช่เป็นเพียง trainer แต่คือ “COO org chart” ขององค์กร

#วันละเรื่องสองเรื่อง

--

--

Yongyuth Buranatepaporn

As Product Owner, my role is to ensure that products on my hand will be success