เรื่องเล่าธุรกิจสุขภาพ กับเทคโนโลยี

Yongyuth Buranatepaporn
2 min readMay 11, 2024

เมื่อคืนมีโอกาสได้ย้อนดูสารคดีใน Netflix เกี่ยวกับ Elizabeth Holmes อดีต CEO Theranos ผู้อื้อฉาว (ใครยังไม่เคยดูลองดูนะครับ)…แต่วันนี้ไม่ได้มาเล่าเรื่อง Theranos นะครับ…แต่มานั่งทำให้ย้อนคิดถึงตัวเองในช่วงประมาณปี 2019–2021 โดยช่วงเวลานั้นผมได้โอกาสทำสิ่งใหม่ในชีวิตตอนนั้น คือเรื่องเกี่ยวกับ HealthTech Start-up ให้บริษัทๆ หนึ่งที่ให้โอกาสมา (ต้องขอบคุณที่ให้ประสบการณ์ที่ดีในตอนนั้น) แต่ต้องบอกว่าแม้จะทำได้ “ไม่สำเร็จ” แต่ช่วงเวลาที่ทำอยู่ เห็นคน หรือบริษัทจำนวนมากที่เข้ามาทำใน segment ด้านสุขภาพจำนวนมาก แต่ส่วนมากให้สังเกตุในเคสนี้ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร แถมบางเคสอื้อฉาวระดับโลกแบบ Theranos เลยก็มี…

พอมานั่งคิดถึงตัวเองในช่วงเวลา 2019–2021 อะไรที่ทำให้ตัวเอง, คนรอบข้าง, หรือแม้กระทั่ง Ecosystem ด้าน HealthTech ไม่สำเร็จ หรือ ทำได้เพียงระดับนึงไม่สามารถ scale ต่อไปได้ ลอง short-noted ออกมาดังนี้ครับ (หากใครไม่เห็นด้วยต้องขออภัย พอดีคิดจากประสบการณ์ระยะสั้น 2–3 ปีที่ตัวเองได้ลงไปทำเรื่องนี้ แล้ว “ไม่สำเร็จ”)

  1. “โครงสร้างขององค์กรและทีมงาน” : คนที่มาทำมักเป็นสายธุรกิจอื่น ไม่ก็สาย technology ที่มักคิดว่า digital technology เอามาแก้ปัญหาต่างๆ วาง flow ตามประสบการณ์ในธุรกิจอื่น แต่พบว่าสุดท้ายไม่เข้าใจเรื่อง Health จริงๆ เพราะ Health เป็นองค์ความรู้เชิงลึก…ไม่สามารถเอา นักธุรกิจ, นักวิจัยสายอื่น หรือนักเทคโนโลยีมาร่วมกัน แล้วสร้าง digital platform ต่างๆ แล้วจะสำเร็จได้เลย ในการสร้างทีมต้องคำนึงถึง balance ในโครงสร้างทีมที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญทั้ง “ด้านธุรกิจ healthcare, ด้านเฉพาะ healthcare, ด้าน technology และ คนเข้าใจและออกแบบ customer/design ได้…” เพราะถ้าไม่มีเสาหลักด้านต่างๆ ยากมากที่จะออกแบบ Value solution นั้นได้จริงๆ โดยเฉพาะยิ่งคนที่มีประสบการณ์จากธุรกิจอื่นกระโดดมาทำ ด้วยอาจจะ passion หรืออะไรก็ตาม โอกาสจะโดนกับดักประสบการณ์เดิมทำให้ล้มเหลวสูงมากๆ
  2. “การออกแบบคิดถึง player ใน ecosystem ที่จะทำไม่ครบ” เพราะสุดท้ายไม่ว่าคุณจะออกแบบ product ด้านสุขภาพยังไง คุณตค้องไม่ลืม connect ถึง key ที่สำคัญ เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชฯ นักโภชนาการ นักจิตวิทยา เป็นต้น ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ผมยกตัวอย่าง product start up ที่เราเห็นมีการพยายามจะทำ เช่น เจาะเลือดที่บ้าน, ตรวจทางไกล, หรือส่งยา เป็นต้น สุดท้ายถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่ lock-in กันใน ecosystem ยากมาก…เพราะ start up มักมีเงินทุน start ไม่มากทำได้บางส่วนของระบบ สุดท้ายไปขาย clinic หรือโรงพยาบาลก็จะยากอีก เพราะไม่ต่อกับ ecosytem และธุรกิจโรงพยาบาลที่มีความยุ่งยากได้ลำบากมาก สุดท้ายพอทำ solution ครึ่งๆ กลางๆ product นั้นก็ไม่มีทางโดน adopt
  3. “ประโยชน์สำหรับลูกค้า/ผู้ป่วย/ผู้ต้องการการดูแลสุขภาพ” ไม่ชัดเจน…เช่น แอพเก็บบันทึกข้อมูลสุขภาพ ถ้าเก็บไป แล้วตัวผู้ป่วยไปวิเคราะห์ไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร สุดท้าย “ข้อมูลสุขภาพ” มันไม่ใช่ dashboard ธุรกิจ…คนที่อ่านก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ…แล้วถ้าผู้เชี่ยวชาญบอกมันไม่ใช่ ไม่ละเอียด หรือเขาแค่บอกไม่มีประโยชน์ การเก็บข้อมูล digital ต่างๆ ระบบนั้นแทบจะสูญเปล่า… (ซึ่งให้ย้อนกลับไปที่ข้อ 1 คือหัวใจโครงสร้างทีม)
  4. “ไม่มีหลักฐานวิจัยสนับสนุน หรือ overclaim” ให้คิดถึงเคส Theranos ที่วิจัยไม่สำเร็จ…แต่ฝั่งธุรกิจต้องการเงินแล้ว ก็ไปขายฝันผู้บริหาร นักลงทุน สุดท้ายมันใช้ไม่ได้ หรือใช้ได้ครึ่งๆ กลางๆ…แล้วเรื่องแปลกของ product สุขภาพคือ MVP (Minimal Viable Product) ถ้าจะตัดมาใข้มันต้อง cover ทั้งการ endorse สายเฉพาะการใช้งาน, flow operation ที่ cover, และประโยชน์ของผู้ใช้อย่างแท้จริง
  5. “เรื่องราคา” : Cost สุขภาพ ไม่ต้องคิดที่อื่น เอาแค่เมืองไทย ถ้าเราไม่ใช้สวัสดิการบริษัท สวัสดิการรัฐ หรือแม้กระทั่งประกันต่างๆ การรักษาโรค หรือดูแลสุขภาพสมัยนี้มันสูงมากอยู่แล้ว แม้กระทั่ง flow ปกติ…แล้วถ้าเราใส่เทคโนโลยีอีกเข้าไป ส่วนใหญ่ในมุมของผู้ใช้มันเหมือน add-on จะสิ่งที่มีสูงอยู่แล้ว (second need) แต่กลับกัน cost ที่ต้องเอามาทำฝั่งเทคโนโลยีให้ cover MVP ของ ecosystem ทีจะเอาออกมาขาย มันคือการลงทุนที่สูงทั้ง hardware/software หรือแม้กระทั่งโมเดลธุรกิจที่ต้องแบ่งให้กับการแพทย์ต่างๆ ไหนกฏหมายไทยจะไม่เอื้อเท่าไร ใน hardware หลายตัวที่จะนำเข้ามากับ software มีขั้นตอนมากมาย และเวลาที่ใช้มากในการขอนำเข้า ดังนั้น cost ก็สูง ทำก็ยาก เอามาคิดแพง ก็ไม่มีใครสนอีก หรือสนก็เฉพาะกลุ่มมากๆ จนมองหากลุ่ม user ที่ scale มากๆ ไม่ได้
  6. “Implemetation” พอ Tech start-up เอาของตัวเองมา สุดท้ายจุดยากมากๆ คือ conncected กับสถาบันทาง heath ต่างๆ เช่น หลายคลินิก หลายร.พ. ระบบไม่มี API ให้เชื่อมด้วยซ้ำ เป็นระบบ offline ยุคเก่า ครั้นจะไปขอทำกับ ร.พ. ใหญ่ๆ หรือสถาบันใหญ่ๆ กลุ่มเหล่านี้ ก็คิดทำเองทั้งหมดเป็น ecosystem ของ ร.พ. หรือ specific health นั้นเอง กลายเป็น Wall ขนาดใหญ่อีก
  7. “ธุรกิจสุขภาพอยู่ภายใต้กฏหมาย และข้อกำหนดเยอะ” มันแปลว่ามันเปลี่ยนแปลงช้า ไม่ยืดหยุ่นในเชิงกฏเกณฑ์ ต่อให้คนมาสาย business อื่นมาความ creative ยังไง พอมาทำจะเจอติดโน่นนี่ สุดท้ายก็จะโดนกรอบให้เดินตามทางที่กำหนด แล้วก็ fail ไป แต่เราก็ต้องเข้าใจกฏหมายหรือข้อกำหนดมันออกมาเพื่อ “ความปลอดภัยของผู้ป่วย/ลูกค้า” ในภาพใหญ่
  8. “Funding หรือ ผู้บริหารที่ให้เงิน” ก็ไม่เข้าใจ พูดการคืนทุน หรือการลงทุนไม่เยอะ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มาให้ได้ สมัยก่อนผมได้ยินคำว่า “traction” “เงินน้อยแต่ดึงลูกค้าได้” “ไปหา solution ตอบโจทย์” แต่ทั้งหมดหารู้ไม่ มันทำแบบนั้นยาก และอาจไม่ใช่ตำรา start-up ที่ทำได้ด้วย ถ้าโครงสร้างทีม โครงสร้าง mindset ของคนที่ทำผิดเพี้ยนแต่แรก

นับเป็นประสบการณ์ที่ดีในวันนั้น…แม้จะ fail ที่ตัวเอง (ต้องขอโทษบริษัทที่จ้างเราไปทำก็ fail ในมุมเวลาและเงินทุน)…แต่ก็เป็นข้อจำว่าธุรกิจทุกอันที่โดดเข้าไปด้วย เทคโนโลยี จะ health+tech, agri+tech, Education + tech etc. ทุกอย่างมันมรความเฉพาะของธุรกิจ และลูกค้า เราไม่สามารถยกประสบการณ์เดิมเรามาครอบได้ และการออกแบบ “โครงสร้างทีมงาน รวมถึงภาพ ecosystem ที่ต้องต่อจิ๊กซอว์ให้ได้จะสำคัญมากๆ ตั้งแต่วันแรก”

เร็วๆ นี้ด้วยผู้ใหญ่ใจดี ก็ให้โอกาสผมได้ลองธุรกิจใหม่ๆ…ธุรกิจใหม่ ที่ไม่เคยทำเราต้องมอง moonshot ที่จะ success ให้ออก…และหวังว่าอาจจะได้ connect กับผู้อ่านหลายๆ คนเร็วๆ นี้ครับ

เป็นเรื่องเล่าวันเสาร์…หล้งดูสารคดี ก็คิดถึงวันเก่า

#วันละเรื่องสองเรื่อง

--

--

Yongyuth Buranatepaporn

As Product Owner, my role is to ensure that products on my hand will be success