“จะรู้ได้ยังไงเราหา A-Player มาได้”

Yongyuth Buranatepaporn
2 min read1 day ago

--

วันก่อนมีโอกาสฟัง Podcast นึง ใน Grab ระหว่างไปทำงาน มีหัวข้อที่น่าสนใจ ว่า Elon Musk เคยบอกว่า “Hard skills เป็นสิ่งที่สอนได้ เราสามารถส่งพนักงานเราไปเทรน หรือกระตุ้น/บังคับให้เขาไปเรียนเพิ่มแม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งที่เรียนจบสายตรงมาจากมหาวิทยาลัยก็ตาม”

แต่การจะเป็น A-Players ได้ไม่ได้มีแค่ Hard Skills แต่ต้องมีคุณลักษณะอื่นๆ เช่น

  1. ความมีวินัยในการงานตัวเอง (Work Ethic) เรื่องนี้สอนไม่ได้ หลายคนอาจจะบอกว่า Work-life balance แต่ว่าคนที่เป็น A-Player เค้าจะทุ่มเทในการทำงานเอง และไม่ได้รู้สึกว่า “Work-life balance” เป็นเหตุผลสำคัญใดๆ นอกจากการทำสิ่งที่รับผิดชอบให้สำเร็จ…

Jensen Huang ผู้โด่งดังจาก NVIDIA กล่าวว่า

““I have a good work-life balance. I work as much as I can. I work from the moment I wake up, until the moment I go to sleep. 7 days a week.”

Source : https://www.linkedin.com/posts/christiansoschner_entrepreneurship-worklifebalance-leadership-activity-7232021615524421632-yUNQ

2. Passion : คำยอดฮิตหลายๆ คน ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยยังไงให้ตรง จริงๆ แล้ว Passion มันไม่ใช่สิ่งที่องค์กร หรือหัวหน้าไปบอกพนักงาน แล้วเขาจะมีคำว่า passion นั้นได้จริงๆ. เราไม่สามารถเขียน เป็นค่านิยมองค์กรได้ด้วยซ้ำว่า องค์กรเรามี passion เพราะมันเป็นสิ่งที่ต้องเกิดจากข้างในตัวคนๆ นั้น โดยหลอมจากสภาพแวดล้อม แล้วเขาสร้างเป็นแรงผลักดันขึ้นมา ดังนั้น ถ้าองค์กรจะทำให้พนักงานมี passion มีอารมณ์หรือแรงผลักดันร่วม ก็ต้องสร้างภารกิจที่ยิ่งใหญ่มากๆ

ตัวอย่างเช่น Apple ในช่วงปี 1970’s ตอนที่กำลังจะสร้าง personal computer ให้กลับทุกครัวเรือน (ให้นึกภาพตอนนั้นไม่ง่ายเลย ทุกคนจะมี desktop หรือ laptop ประจำตัว ประจำบ้านกันแบบนี้)

ตอนนั้น Apple สร้างภารกิจให้พนักงานเกิด passion ว่า “To put a computer in every household in the US“

ในยุคที่ทุกคนคิดว่าคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็น ทำให้ต้องอาศัยแรงผลักดันของทุกคนในองค์กรให้สำเร็จ ซึ่งองค์กรจะให้ passion ได้ต้องเป็นเรื่องใหญ่ และสร้างจากข้างในตัวเอง และสำคัญ “ไม่ใช่ทุกๆ คนที่จะสร้าง Passion ได้เอง และลงมือทำได้ ถ้าเขาไม่ใช่ A-Player ที่มีความสามารถ” เพราะคนธรรมดา “อาจจะฮึกเหิมมี passion อยากเวลามีพันธกิจใหญ่ๆ แต่พอลงมือทำก็ไฟมอดไป หรือความสามารถไม่ได้” …ดังนั้น passion สำหรับ A-Player ต้องมาพร้อมความสามารถและอีกข้อในข้อถัดไป

4. Resillence (ล้มได้-ลุกเร็ว-ไปต่อได้) : สิ่งนี้ไม่ใช่ใครจะสอนใครได้ ถ้าคุณเป็นคนธรรมดา คนโดนติ คุณล้มเหลวคุณก็ไม่เอา เข้า mode defensive mode หลายๆ คนไม่ชอบล้มเหลวก็จะป้องกันทุกทาง จนเป็นกรอบในการทำแบบเดิมๆ เก่าๆ แล้วก็ตกสมัยในที่สุด

บริษัทที่มี A-Player นั้น “จะมีคนที่พร้อมรับแรงกระแทกของปัญหา หรืออุปสรรค แล้วก็ลุกขึ้นปรับปรุงสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อให้ไปเป้าหมายได้” ไม่ใช่ โดนแล้วก็หลบ ป้องกัน หรือร้ายกลับ

4. ไม่เอาเรื่องธุรกิจ/องค์กร ปนกับความความสัมพันธ์ส่วนตัว : A-Player = ทำงานแบบมืออาชีพ ถ้าให้พูด เขาจะไม่เห็นด้วยกับคำว่า “บริษัทนี้อยู่กันอย่างพี่น้อง/ครอบครัว” แต่จะพอใจ ถ้าบอกบริษัทนี้เป็นระบบ มีความโปร่งใส สามารถพูดคุยบนพื้นฐานของ common goals ของบริษัทในทุกเรื่องอย่างแท้จริง เขาจะมองเห็นอนาคต เช่น

  • บริษัทมักจ้าง/promote คนที่ดีที่สุด มีความสามารถ ไม่ใช่คนกันเอง
  • บริษัทจะมีวิธีการที่โปร่งใสในการวางคนในโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน หรือการโปรโมทคน
  • บริษัทจะสนับสนุนคนรุ่นใหม่ (วิธีคิดใหม่) เพื่อให้ลองผิดลองถูกบนพื้นฐานของ common goals

ประมาณนี้ครับ เรื่องเล่าจากการฟัง Podcast นึง ผสมผสานกับความเห็นบางอย่าง (ยังจำชื่อ Podcast นั้นไม่ได้เลย 😅)

#วันละเรื่องสองเรื่อง

--

--

Yongyuth Buranatepaporn

As Product Owner, my role is to ensure that products on my hand will be success