“กับดัก MVP (MVP Trap)”

Yongyuth Buranatepaporn
1 min readOct 5, 2024

--

วันนี้ได้คุยกับ Product Manager/Product Owner หลายคน ได้ยินคำยอดฮิต หรือบางครั้งอยากเรียกจังว่า product buzz คำนึงที่เรียกว่า “MVP” (Minimal Viable Product) แน่นอนคนทำงาน product management จะพูดถึงกันบ่อย โดยเฉพาะ PM/PO เพราะในช่วงวาง product roadmap จนถึง prioritise ใน iteration or release แรกๆ เราจะบอกขอ MVP ก่อน

แน่นอนแนวคิด MVP นั้น จะช่วย product management อย่างมากที่จะมองหาอะไรที่หน่วยเล็กที่สุด ที่จะ release เพื่อออกไปทดสอบให้ได้เร็วที่สุด

“แต่หลายครั้งมันกลับเป็นเรื่องที่เหล่า PM/PO เอาไว้ excuse ว่าเอาแค่นี้ก่อน เพราะยังคิดภาพ product strategy ทั้งหมดไม่ออกไปเสียงั้น”

ดังนั้น ท่าส่วนมากของ PM/PO ก็จะบอกงั้น ออก MVP ไปก่อน เพื่อ “Test” แต่สังเกตุ มันมักจะ MVP ทันทุก iteration/sprint หรือ everything จิงเกอเบลบ่อยครั้งเลย

ถ้าเกิดอาการนี้ ฝรั่งเค้าเรียก “MVP Trap” (นิยามโดย Moe Ali, Product Faculty | Advanced PM Skills Training for Senior Product Managers)

คนจะมาใช้ MVP ปกติทีม หรือผู้บริหารต้องชวนคิดกลับไปที่ PM/PO คนนั้น ที่บอกขอ MVP ว่า. “สรุป Product Goals” คุณคืออะไรกันแน่? ไม่งั้น คำว่า MVP โดยที่ Goals ไม่เห็นว่ามันทำเพื่ออะไร หรือจะมีกลยุทธ์อะไรหายนะแน่ๆ

ดังนั้น หลายๆ บริษัทเค้าจะไม่ได้พูด MVP แต่มีหลักการ Valid สิ่งที่เราจะทำขึ้นมาเพื่อทดสอบให้ชัดเจนก่อน เช่น Amazon ก็จะให้คนทำ product วัดก่อนว่ามี “Critical thinking” ของสิ่งที่จะทำเป็นอย่างไร? ด้วยวิธีเขียน memo 6–8 หน้า ที่บอกถึง product narative และ process ของสิ่งที่จะเริ่มทำนั้นเป็นอย่างไร เพราะถ้าคุณ “เขียนออกมาได้ชัดเจน — แปลว่าคุณได้ผ่านการคิด — และเอาสิ่งที่เขียนมาอธิบายเป็น structure ได้ — argue or discuss ในภาพเป้าหมายได้ แปลว่า มันถึงจะเรียกว่าเหมาะกับการทดลอง หรือ เป็น MVP จริงๆ”

คนเป็น PM/PO จึงต้องมีทักษะที่สำคัญที่เรียกว่า “Critical Thinking” และผมแนะนำว่า “Critical Thinking” จะฝึกได้ คือ คุณต้องเขียน idea ที่ฟุ้ง หรือ backlog ที่กระจาย หรือ presentation ที่กระจายออกมาเป็น เป้าหมาย — process -และสิ่งที่จะทำให้ได้จะวัดผลยังไง

“เขียนได้ — เหลาให้คม — อธิบาย หรือ discuss ได้”

ทีนี้ เราก็จะไม่ทำ MVP ไปเรื่อยเปื่อย…และ MVP ที่จะเกิดมันจะเป็น logics จริงๆ

ประมาณนั้นครับ!

#วันละเรื่องสองเรื่อง

--

--

Yongyuth Buranatepaporn

As Product Owner, my role is to ensure that products on my hand will be success